ประเภทหญ้า

 1.5ประเภทหญ้า 
ทองพันชั่ง

ชื่อวิทยาศาสตร์ :   Rhinacanthus nasutus  (L.) Kurz
ชื่อสามัญ          :    White crane flower
ชื่ออื่น              :  ทองคันชั่ง หญ้ามันไก่ (ภาคกลาง)
วงศ์                 :   ACANTHACEAE
ชื่อพ้อง            : R. communis  Nees
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้พุ่ม สูง 1-2 เมตร กิ่งอ่อนเป็นเหลี่ยม ส่วนโคนต้นเนื้อไม้เป็นแกนแข็ง ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกเรียงตรงข้ามกัน รูปไข่ กว้าง 2-4 ซม. ยาว 4-8 ซม. ปลายใบแหลมเรียว โคนใบสอบ ขอบใบเรียบ แผ่นใบสีเขียวอ่อน ดอก ออกเป็นช่อตามซอกใบ ดอกสีขาว กลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นหลอด ปลายแยกเป็น 2 ปาก ปากล่างมีจุดประสีม่วงแดงผลเป็นฝักเล็กพอแห้งแตกออกได้
ส่วนที่ใช้ : ราก  ทั้งต้น  ต้น  ใบ
สรรพคุณ : ราก - แก้กลากเกลื้อน รักษาโรคมะเร็ง รักษาโรคผิวหนัง ดับพิษไข้ แก้พิษงู แก้พยาธิวงแหวนตา
ทั้งต้น รักษาโรคผิวหนัง แก้น้ำเหลืองเสีย แก้กลากเกลื้อน ผื่นคัน รักษามะเร็ง คุดทะราด ขับพยาธิตามผิวหนัง ตามบาดแผล แก้ไส้เลื่อน ไส้ลาม แก้ปัสสาวะผิดปกติ
ต้น บำรุงร่างกาย แก้โรค 108 ประการ รักษาโรคผมร่วง
ใบ ดับพิษไข้ แก้กลากเกลื้อน ผื่นคัน แก้โรคไขข้ออักเสบ รักษาโรคผิวหนัง รักษาโรคมะเร็ง รักษาโรคความดันโลหิตสูง แก้ผมร่วง บำรุงร่างกาย แก้โรค 108 ประการ แก้ปวดฝี แก้พิษงู ถอนพิษ แก้อักเสบแก้โรคมุตกิตรักษาโรคพยาธิวงแหวนตามผิวหนัง
นอกจากนี้ยังใช้ผสมในตำรับยาร่วมกับสมุนไพรอื่นๆ รักษาโรคต่อไปนี้คือ
ราก รักษามะเร็งเนื้องอก รักษามะเร็งปอด กระเพาะลำไส้ มะเร็งตามร่างกาย ทำให้ผมดกดำ แก้ไอเป็นเลือด อาเจียนเป็นเลือด แก้ริดสีดวงทวาร ดับพิษไข้ รักษาโรคผิวหนัง แก้กระษัย แก้ผมหงอก ผมร่วง รักษาโรคตับพิการ รักษาโรครูมาติซึม รักษาโรคไขข้อพิการ แก้ลมเข้าข้อทำให้ปวดบวมต่างๆขับปัสสาวะ แก้แมงเคียนกินรากผม แก้เหา แก้รังแค
ทั้งต้น  รักษาโรคผิวหนัง คุดทะราด แก้เม็ดผื่นคัน
ต้น รักษามะเร็งเนื้องอก รักษามะเร็งปอด มะเร็งกระเพาะ มะเร็งตามร่างกาย มะเร็งลำไส้ แก้แมงเคียนกินรากผม แก้เหา แก้รังแค รักษาโรคผิวหนังใบ - แก้แมงเคียนกินรากผม แก้เหา แก้รังแค รักษาโรคผิวหนัง แก้ไข้ แก้ปวดหัวตัวร้อน แก้มะเร็งไช แก้หิดมะตอย รักษาโรคมะเร็ง รักษาวัณโรค แก้ใจระส่ำระสาย แก้คลุ้มคลั่ง แก้สารพัดพิษ
นอกจากนี้ในตำราบางเล่ม ยังได้กล่าวถึงสรรพคุณทองพันชั่ง โดยไม่ได้ระบุว่าใช้ส่วนใดของพืชหรือส่วนใดในตำรายาร่วมกับสมุนไพรอื่นๆในการบำบัดรักษาโรคต่างดังต่อไปนี้คือ
รักษาโรคความดันโลหิตสูง รักษาโรคมะเร็ง แก้มุตกิตระดูขาว เป็นยาอายุวัฒนะ แก้ผมร่วง รักษาโรคนิ่ว
แก้เคล็ดขัดยอกชายโครง มือเคล็ด คอเคล็ด แก้มะเร็งในกระเพาะ แก้ฝีประคำร้อย แก้มะเร็งในคอ แก้มะเร็งในปาก แก้ไข้เหนือ แก้จุกเสียด เป็นยาหยอดตา แก้ไอเป็นเลือด แก้ช้ำใน แก้นิ่ว แก้โรคผิวหนัง แก้ลมสาร แก้มะเร็งในปอด แก้มะเร็งภายในและภายนอก
ขลู่
ชื่อวิทยาศาสตร์   : Pluchea indica
ชื่อสามัญ             : Indian marsh fleabane
วงศ์                     : ทานตะวัน (ASTERACEAE หรือ COMPOSITAE)
สรรพคุณของขลู่ :

  1. ใช้เป็นยาอายุวัฒนะ (ใบสดแก่เปลือก ใบ เมล็ด
  2. ใบนำมาต้มกับน้ำอาบจะช่วยบำรุงประสาท (ใบ)
  3. ทั้งต้นนำมาต้มกินเป็นยารักษาโรคเบาหวาน (ทั้งต้น) ส่วนใบก็ใช้ชงดื่มเป็นน้ำชาก็มีสรรพคุณช่วยรักษาโรคเบาหวานได้เช่นกัน (ใบ)
  4. ใบใช้ชงดื่มแทนน้ำเป็นชา มีสรรพคุณช่วยลดความดันโลหิต (ใบ)
  5. ใบสดแก่และรากใช้เป็นยาแก้กระษัย (ราก, ใบสดแก่, ทั้งต้น, เปลือก ใบ เมล็ด)
  6. ช่วยรักษาโรคตานขโมย (ทั้งต้น)
  7. ช่วยแก้ตานซางในเด็ก เข้าใจว่าใช้ใบชงดื่มแทนน้ำชา (ใบ)
  8. ทั้งต้นใช้เป็นยารักษาโรควัณโรคที่ต่อมน้ำเหลือง (ทั้งต้น)
  9. ขลู่ใช้ปรุงเป็นยาต้มรับประทานแก้โรคเลือด (ไม่ระบุส่วนที่ใช้)
  10. ช่วยรักษาเลือดลม (ใบและต้นอ่อน, ทั้งต้น)

หูเสือ
ชื่อสามัญ Indian borage, Country borage, Oreille, Oregano
ชื่อวิทยาศาสตร์ Plectranthus amboinicus (Lour.) Spreng. (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Coleus amboinicus Lour., Coleus aromaticus Benth.) จัดอยู่ในวงศ์กะเพรา (LAMIACEAE หรือ LABIATAE)
มีชื่อท้องถิ่นอื่นๆ หอมด่วนหูเสือ หอมด่วนหลวง (ภาคเหนือ), เนียมหูเสือ (ภาคอีสาน), ผักฮ่านใหญ่ (ไทยใหญ่), ผักหูเสือ (ไทย), เนียมอีไหลหลึง โฮว้หีเช่า (จีน) เป็นต้น
สรรพคุณของหูเสือ

  1. ต้นและใบมีกลิ่นหอมฉุน รสเผ็ดร้อน มีสรรพคุณช่วยทำให้เจริญอาหาร (ต้นและใบ)
  2. ใบหูเสือมีสรรพคุณเป็นยาบำรุงร่างกาย (ใบ)
  3. ตำรับยาบำรุงเลือดลมระบุให้ใช้รากหูเสือนำมาต้มกับน้ำกินจะช่วยรักษาเลือดลมให้เป็นปกติ (ราก)
  4. ต้นและใบนำมาคั้นเอาน้ำใช้หยอดหูจะช่วยแก้ฝีในหู แก้ปวดหู หูน้ำหนวกและแก้พิษฝีในหูได้ (ต้นและใบ,ใบ)
  5. ช่วยดับกลิ่นปาก แก้ปวดฟัน ป้องกันฟันผุ ด้วยการนำรากหูเสือมาแช่กับน้ำธรรมดาแล้วนำมากินและอมบ่อย ๆ (ราก)
  6. ใบใช้ภายนอกเป็นยาพอกศีรษะแก้อาการปวด ลดไข้ (ใบ)
  7. ต้นและใบใช้ตำแล้วนำมาโปะหน้าผากหรือกระหม่อมเด็กเด็กเล็กจะช่วยลดไข้ตัวร้อนแก้ไข้หวัดในเด็กได้ (ต้นและใบ,ใบ)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น