ประเภทเถา, เครือ

1.2 ประเภทเถา, เครือ 
ชะเอมไทย
 ชื่อวิทยาศาสตร์: Albizia myriophylla Benth. จัดอยู่ในวงศ์ถั่ว (FABACEAE หรือ LEGUMINOSAE) และอยู่ในวงศ์ย่อยสีเสียด (MIMOSOIDEAE หรือ MIMOSACEAE)
สมุนไพรชะเอมไทย มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า ตาลอ้อย (ตราด), อ้อยสามสวน (อุบลราชธานี), ย่านงาย เซเบี๊ยดกาชา (ตรัง), อ้อยช้าง (สงขลา, นราธิวาส), ชะเอมป่า (ภาคกลาง), ส้มป่อยหวาน (ภาคเหนือ), เพาะซูโฟ (กะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอน), กอกกั๋น เป็นต้น
สรรพคุณของชะเอมไทย:
  1. เนื้อไม้ช่วยบำรุงธาตุในร่างกาย (เนื้อไม้)
  2. ช่วยบำรุงกำลัง (เนื้อไม้)
  3. รูปชะเอมไทยช่วยบำรุงกล้ามเนื้อให้เจริญ (เนื้อไม้)
  4. ช่วยแก้โรคตา (ต้น)
  5. ช่วยแก้โลหิตอันเน่าในอุทรและช่วยเจริญซึ่งหทัยวาตให้สดชื่น (ราก)
  6. ดอกแก้ดีและโลหิต (ดอก)
  7. ช่วยแก้กำเดาให้เป็นปกติ (ราก)
  8. เปลือกต้นใช้ต้มกับน้ำดื่มช่วยแก้อาการไอ โดยใช้รากชะเอมไทยยาวประมาณ 2-4 นิ้วนำมาต้มกับน้ำดื่มเช้าและเย็น หากอาการไม่ดีขึ้นให้รับประทานติดต่อกัน 2-4 วัน (เปลือกต้น, ราก)
  9. ช่วยขับเสมหะ แก้น้ำลายเหนียว (เนื้อไม้, ผล, ราก)ทำให้เสมหะงวด (ดอก)โดยใช้รากชะเอมไทยยาวประมาณ 2-4 นิ้วนำมาต้มกับน้ำดื่มเช้าและเย็น หากอาการไม่ดีขึ้นให้รับประทานติดต่อกัน 2-4 วัน
เล็บมือนาง

เล็บมือนาง ชื่อสามัญ Rangoon Creeper, Chinese honey Suckle, Drunen sailor
เล็บมือนาง ชื่อวิทยาศาสตร์ Combretum indicum (L.) DeFilipps (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Quisqualis indica L.) จัดอยู่ในวงศ์สมอ (COMBRETACEAE)[1]
สมุนไพรเล็บมือนาง มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า อ้อยช้าง (อุตรดิตถ์), แสมแดง (ชุมพร), เล็บนาว (สตูล), มะจีมั่ง จ๊ามัง จะมั่ง (ภาคเหนือ), นิ้วมือพระนารายณ์ (ใต้), ไท้หม่อง (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน), วะดอนิ่ง อะดอนิ่ง (มะลายู-ยะลา), เล็บมือนางต้น เป็นต้น
สรรพคุณของเล็บมือนาง :
  1. รากและใบมีรสเมาเบื่อ เป็นยาสุขุม ส่วนเมล็ดมีรสชุ่มเป็นยาร้อน สรรพคุณเป็นยาบำรุงธาตุ (ราก,ใบ,เมล็ด)
  2. ช่วยทำให้เจริญอาหาร (ราก,ใบ),
  3. ทั้งต้นมีสรรพคุณช่วยแก้ตานขโมยพุงโร (ทั้งต้น)[1] หรือจะใช้รากผสมกับสมุนไพรชนิดอื่น ๆ จะมีสรรพคุณเป็นยาแก้ตานขโมย แก้เด็กเป็นซาง แก้ซางแห้ง แก้ธาตุวิปริต แก้อุจจาระพิการ แก้ตับทรุด และช่วยทำให้เจริญอาหาร (ราก)
  4. รากและใบใช้เป็นยาแก้ตานซางในเด็ก (ราก,ใบ) ส่วนเมล็ดเป็นยาแก้ตานซาง ตานขโมยในเด็ก (เมล็ด)
  5. ใบหากนำไปผสมกับสมุนไพรชนิดอื่น จะเป็นยาแก้ตัวร้อน และแก้อาการปวดศีรษะ (ใบ)
  6. ใบใช้ตำพอกแก้อาการปวดศีรษะ (ใบ)
  7. ช่วยแก้อาการวิงเวียนศีรษะ (เมล็ด)
  8. ใช้เป็นยาแก้ไข้ (ใบ, เมล็ด)
  9. ช่วยแก้อาการไอ (ต้น,ราก,ใบ,ทั้งต้น)
  10. ผลใช้รับประทานแล้วจะทำให้สะอึก (ผล)

พริกไทย
ชื่อสามัญ : Pepper
ชื่อวิทยาศาสตร์: Piper nigrum L. จัดอยู่ในวงศ์พริกไทย (PIPERACEAE)
 มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ : ว่า พริกขี้นก, พริกไทยดำ, พริกไทยขาว, พริกไทยล่อน, พริกน้อย (ภาคเหนือ), พริก (ใต้) เป็นต้น
ลักษณะพริกไทย : ต้นพริกไทยเป็นต้นไม้ที่มีอายุยืน จัดอยู่ในประเภทไม้เลื้อย สูงประมาณ 5 เมตร ลักษณะของลำต้นจะเป็นข้อ ๆ ลักษณะของใบพริกไทยจะมีสีเขียวสด ใบใหญ่คล้ายใบโพ ส่วนลักษณะของดอกพริกไทยจะมีขนาดเล็ก จะออกช่อตรงข้อของลำต้น มีลักษณะเป็นพวง ซึ่งจะมีเมล็ดกลม ๆ ติดกันอยู่เป็นพวง มีถิ่นกำเนิดในประเทศอินเดีย บริเวณเทือกเขาทางภาคตะวันออกเฉียงใต้ สำหรับบ้านเราพริกไทยถือเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญชนิดหนึ่ง โดยนิยมปลูกพริกไทยกันมากในจังหวัดจันทบุรี ตราด และระยองสายพันธุ์พริกไทย พริกไทยที่นิยมปลูกในบ้านเรามีอยู่ 6 สายพันธุ์ ได้แก่ พันธุ์ใบหนา พันธุ์บ้านแก้ว พันธุ์ปรางถี่ธรรมดา พันธุ์ปรางถี่หยิก พันธุ์ควายขวิด และสายพันธุ์คุชชิ่ง
สมุนไพรพริกไทย เป็นพืชที่มีผลเป็นพวงเม็ดขนาดเล็ก จัดเป็นสมุนไพรที่มีสรรพคุณทางยา และป็นราชาแห่งเครื่องเทศที่มีรสชาติเผ็ดร้อน สามารถนำมาทำเป็นพริกไทยแห้งไว้ใช้เป็นเครื่องปรุงในการประกอบอาหาร ถ้าเป็นแบบแห้งทั้งเปลือกจะเป็น พริกไทยดำ หรือ Black Pepper (เพราะมีผงของเปลือกสีดำปนอยู่) แต่ถ้าลอกเปลือกออกก่อนทำเป็นผงก็จะได้เป็น พริกไทยขาว หรือ White Pepper (พริกไทยล่อน) เนื่องจากพริกไทยมีปริมาณน้ำในแต่ละเม็ดน้อยมาก จึงไม่ค่อยขึ้นรา ซึ่งวิธีการเก็บรักษาก็ง่าย ๆ เพียงแค่เก็บไว้ในโหลแก้วให้มิดชิด ส่วนพริกไทยป่นก็ควรบดเก็บแต่น้อยในภาชนะที่แห้งสนิทและปิดให้มิดชิดเช่นกัน
ประโยชน์ของพริกไทย :
  1. เมล็ดพริกไทยมีสารฟีนอลิกและสารพิเพอรีน ซึ่งช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระ (เมล็ด)
  2. เมล็ดพริกไทยมีสารพิเพอรีน (Piperine) ซึ่งเป็นสารอัลคาลอยด์ที่มีส่วนช่วยรักษาและป้องกันการเกิดโรคอัลไซเมอร์ในผู้สูงอายุได้ (อ้างอิง : รศ.ดร.อรุณศรี ปรีเปรม อาจารย์จากคณะเภสัชศาสตร์) (เมล็ด)
  3. สรรพคุณช่วยป้องกันและต่อต้านสารก่อมะเร็ง ช่วยเร่งการทำงานของตับให้ทำลายสารพิษได้มากขึ้น (เมล็ด)
  4. เมล็ดพริกไทยมีฤทธิ์ในการช่วยกระตุ้นประสาท (เมล็ด)
  5. ช่วยแก้โรคลมบ้าหมูหรือลมชักได้ (เมล็ด)
  6. ช่วยบำรุงธาตุในร่างกาย (เมล็ด)



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น