ประเภทหัว , เหง้า


1.3 ประเภทหัว เหง้า
     กระชาย 
     กระชาย ภาษาอังกฤษเรียกว่า Fingerroot หรือ Chinese's Ginger เป็นพืชล้มลุกที่มีต้นกำเนิดแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และเอเชียใต้ มีชื่อเรียกตามท้องถิ่นที่แตกต่างกันไปได้แก่ ภาคเหนือจะเรียกว่า กะแอน หรือ ละแอน จังหวัดมหาสารคามเรียกว่า ขิงทราย แถบแม่ฮ่องสอนมักจะเรียกว่า จี๊ปู, ซีฟู, เป๊าะซอเร้าะ หรือเป๊าะสี่ ส่วนในกรุงเทพฯ หากได้ยินชื่อว่านพระอาทิตย์ละก็ นั่นก็แปลว่ากระชายเช่นกันค่ะ
     กระชายนิยมใช้เป็นสมุนไพรในครัวเรือน โดยส่วนที่นำมาใช้มากที่สุดคือเหง้าและรากที่อยู่ใต้ดิน ในประเทศไทยมีกระชายอยู่ 3 ชนิดได้แก่ กระชายเหลือง กระชายแดง และกระชายดำ ซึ่งแต่ละชนิดจะมีลักษณะทางพฤกษศาสตร์ และสรรพคุณทางยาแตกต่างกันเล็กน้อย โดยเหง้าและรากที่นำมาใช้นั้นมีรสชาติเผ็ดร้อนขม ซึ่งแพทย์แผนโบราณของไทยนิยมมาใช้ทั้งในการรักษาโรคและการบำรุงร่างกาย นอกจากนี้ยังถือเป็นยาอายุวัฒนะอีกด้วย
สรรพคุณของกระชาย เปี่ยมคุณค่า รักษาสารพัดโรค
     กระชาย สรรพคุณของสมุนไพรชนิดนี้กระจายอยู่มากมายตามส่วนต่าง ๆ ของต้น ไม่ว่าจะเป็นใบ เหง้า ราก และเหง้าใต้ดิน ยิ่งโดยเฉพาะกระชายแก่จะยิ่งมีประโยชน์สูงกกว่ากระชายอ่อน และควรเลือกกระชายแห้ง เพราะกระชายแห้งจะมีสารที่มีประโยชน์ต่อร่างกายมากกว่า โดยแต่ละส่วนของกระชายมีสรรพคุณแตกต่างกันไปดังนี้
- เหง้าใต้ดิน
     เหง้าใต้ดินมีรสชาติขมและเผ็ด สามารถช่วยแก้อาการปวดท้อง มวนในท้อง ท้องอืด ท้องเฟ้อ เนื่องจากมีสารซิเนโอเล (Cineole) ที่มีฤทธิ์ลดการบีบตัวของลำไส้ จึงทำให้อาการปวดท้องทุเลาลงได้ ทั้งนี้ยังเป็นยารักษาริดสีดวงทวาร นอกจากนี้ยังมีสรรพคุณช่วยชูกำลัง และบำรุงกำหนัด บำบัดโรคนกเขาไม่ขัน
 - เหง้าและราก
     เหง้าและรากสามารถใช้เพื่อแก้โรคบิด ถ่ายเป็นมูกเลือด ช่วยขับปัสสาวะ และแก้อาการปัสสาวะพิการ นอกจากนี้ยังสามารถนำมาใช้เป็นยารักษากลากเกลื้อนได้อีกด้วย
  -ใบ
    ใบเป็นอีกส่วนหนึ่งของกระชายที่สามารถนำมาใช้ในการบำรุงร่างกาย โดยใบกระชายสามารถรับประทานเพื่อบำรุงธาตุ รักษาโรคในปาก และในคอ แก้อาการโลหิตเป็นพิเศษ และช่วยถอนพิษต่าง ๆ ได้
ข่า
ภาษาอังกฤษ : Galanga, Greater galangal, False galangal ข่ามีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Alpinia galanga (L.) Willd. จัด
วงศ์ : ZINGIBERACEAE เช่นเดียวกับกระชาย กระชายดำ กระชายแดง กระวาน กระวานเทศ ขิง ขมิ้น เร่ว เปราะป่า เปราะหอม ว่านนางคำ และว่านรากราคะประโยชน์ของข่า
ประโยชน์ของข่าช่วยให้เจริญอาหาร (ข่าหลวง)
  1. ช่วยบำรุงร่างกาย (เหง้า)        
  2.  ช่วยบำรุงธาตุไฟ (หน่อ)
  3.  ข่ามีสาร 1-acetoxychavicol acetate (ACA) ซึ่งมีฤทธิ์ยับยั้งการเกิดโรคมะเร็งจากการเหนี่ยวนำของสารก่อ
  4.  มะเร็ง จึงช่วยป้องกันการเกิดโรคมะเร็งไปด้วยในตัว (เหง้า)
  5.  มีฤทธิ์ช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็ง (สารสกัดจากเหง้า)
  6.  สารสกัดจากเหง้ามีฤทธิ์ช่วยช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด (สารสกัดจากเหง้า)
ว่านน้ำ

ชื่อสามัญ : Calamus, Calamus Flargoot, Flag Root, Mytle Grass, Myrtle sedge, Sweet Flag, Sweetflag, Sweet Sedge,
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Acorus calamus L. (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Acorus angustifolius Schott, Acorus aromaticus Gilib., Acorus calamus var. verus L., Acorus terrestris Spreng.) ปัจจุบันจัดอยู่ในวงศ์ว่านน้ำ (ACORACEAE)
ชื่อท้องถิ่นอื่นๆ : ว่า ว่านน้ำเล็ก ฮางคาวผา (เชียงใหม่), ตะไคร้น้ำ (เพชรบุรี), กะส้มชื่น คาเจี้ยงจี้ ผมผา ส้มชื่น ฮางคาวบ้าน ฮางคาวน้ำ (ภาคเหนือ), ทิสีปุตอ เหล่อโบ่สะ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน), แป๊ะอะ (ม้ง),ช่านโฟ้ว (เมี่ยน), สำบู่ (ปะหล่อง), จะเคออ้ม ตะไคร้น้ำ (ขมุ). แปะเชียง (จีนแต้จิ๋ว), สุ่ยชังฝู ไป๋ชัง (จีนกลาง) เป็นต้น
สรรพคุณของว่านน้ำ
  1. เหง้าว่านน้ำมีสรรพคุณเป็นยาบำรุงธาตุ ยาหอม แก้ธาตุพิการ บำรุงธาตุน้ำ โดยใช้เหง้าแห้งประมาณ 1-3 กรัม นำมาชงกับน้ำร้อนดื่มก่อนอาหารเย็น ติดต่อกันจนกว่าธาตุจะปกติ (ราก,เหง้า)
  2. ใช้เป็นยาขมช่วยทำให้เจริญอาหาร โดยใช้เหง้าแห้งประมาณ 1-3 กรัม (ราก,เหง้า)
  3. ช่วยบำรุงหัวใจ (ราก)
  4. ช่วยบำรุงกำลัง บำรุงประสาท หลอดลม (เหง้า)
  5. เหง้าใช้เป็นยาระงับประสาท สงบประสาท แก้อาการสะลึมสะลือ มึนงง รักษาอาการลืมง่าย ตกใจง่าย หรือมีอาการตื่นเต้นตกใจกลัวจนสั่น จิตใจปั่นป่วน ให้ใช้เหง้าว่านน้ำแห้ง 10 กรัม, เอี่ยงจี่ 10 กรัม, หกเหล้ง 10 กรัม, เหล่งกุก 10 กรัม, และกระดองส่วนท้องของเต่า 15 กรัม ใช้แบ่งกินครั้งละประมาณ 3-5 กรัม วันละ 3 เวลา (เหง้า)
  6. รากใช้เป็นยาแก้ Hysteria (โรคประสาทแบบฮีสทีเรีย) และ Neuralgia (อาการปวดตามเส้นประสาท) (ราก)


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น